(แฟ้มภาพซินหัว : เจ้าหน้าที่องค์การโบราณวัตถุแห่งอิสราเอลปฏิบัติงานที่แหล่งขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งตั้งอยู่ถัดจากลำธารอาเบล ใกล้กับเมืองทิเบเรียสของอิสราเอล วันที่ 26 พ.ค. 2022)
เยรูซาเล็ม, 23 เม.ย. (ซินหัว) -- เมื่อวันอังคาร (22 เม.ย.) มหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเล็มเปิดเผยว่าผลการศึกษาของอิสราเอลที่เผยแพร่ผ่านวารสารดินและตะกอน (Journal of Soils and Sediments) ได้เชื่อมโยงกรณีมนุษย์เริ่มต้นทำเกษตรกรรมเมื่อราว 8,000 ปีก่อนในภูมิภาคลิแวนต์ตอนใต้ เข้ากับไฟป่าและการพังทลายของดินที่มีสภาพภูมิอากาศเป็นตัวผลักดัน
การวิเคราะห์ถ่านไม้ ดิน และข้อมูลสภาพภูมิอากาศของการศึกษาข้างต้นพบการเปลี่ยนแปลงในวงโคจรของรังสีจากดวงอาทิตย์เมื่อราว 8,200 ปีก่อน ซึ่งนำสู่การเกิดพายุฟ้าผ่าที่เผาทำลายพืชผักและทำให้ดินบนเนินเขาเสื่อมโทรม ขณะตะกอนดินที่ยังอุดมสมบูรณ์ถูกพัดลงหุบเขา ทำให้กลุ่มคนล่าสัตว์เร่ร่อนในภูมิภาคลิแวนต์ตอนใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่ครอบคลุมงอิสราเอล ปาเลสไตน์ และจอร์แดนในปัจจุบัน เข้าตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตร
การศึกษานี้ได้ท้าทายแนวคิดเดิมที่ว่าการเปลี่ยนผ่านจากการล่าสัตว์-เก็บของป่าไปสู่การทำเกษตรกรรมเป็นเรื่องของวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว โดยเสนอว่าความล่มสลายทางสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลจากสภาพภูมิอากาศอาจเป็นแรงผลักดันสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน และรูปแบบการเกษตรรวมถึงการตั้งถิ่นฐานอาจเกิดจาก "ความจำเป็น" มากกว่า "การสร้างสิ่งใหม่"